เมนู

พอสรุปได้ว่า ผู้รจนาคัมภีร์นี้ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย หรือในแคว้น
ปัญจาบของอินเดีย (ปัจจุบัน) และเหตุผลที่จะมาสนับสนุนความเห็นดังกล่าวนี้ให้หนักแน่น
ยิ่งขึ้น ก็คือว่า ในที่อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศลังกา ซึ่งอาจจะพิจารณาว่าเป็นที่อยู่
ของผู้แต่งคัมภีร์นี้ หากท่านไม่ได้อยู่ในที่ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ได้นั้น ไม่ปรากฏว่ามีอนุสรณ์
อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าเมนันเดอร์อยู่เลย(1)
และศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ยังได้กล่าวอีกว่า มิลินทปัญหานี้รจนาขึ้นภายหลัง
คัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฎกที่แต่งโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ใน
คราวทำสังคายนาครั้งที่ 3 หลังพุทธปรินิพพานแล้ว 235 ปี เพราะเมื่อเปรียบเทียบคัมภีร์
ทั้งสองนี้ดูแล้ว จะเห็นว่า ข้อคฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตแล้วจะบวชด้วยวิธีด้วย(2) และเป็น
ธรรมดาว่า ข้อความในคัมภีร์ที่เก่ากว่านั้น มักจะถูกนำมาอ้างในคัมภีร์ที่แต่งทีหลัง และ
ความมุ่งหมายก็อย่างเดียวกัน คือเพื่อปราบพวกมิจฉาทิฏฐิและป้องกันพระศาสนาจากพวก
พาหิรลัทธิ
พระเจ้ามิลินท์ คือใคร ? ภารัต สิงห์ อุปัธยายะ (Bharat sing Upadhyaya) ได้ให้
คำตอบในปัญหานี้ไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์นั้น เป็นองค์เดียวกันพระเจิาเมนันเดอร์ กษัตริย์ชาติ
อินโดกรีก ซึ่งเป็นผู้ทรงอุปถัมถ์และสนับสนุนพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ระหว่าง
ศตวรรษที่ 2 คำว่า มิลินท์ มาจากคำภาษากรีกว่า เมนันดรอส (Menandros) นักเขียนใน
สมัยนั้น เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ในหนังสือ อวทาน-
กัลปลดา ของท่านเกษมเมนทร (Ksimendra,s Avadanadalpalata) เรียกพระนามของกษัตริย์
พระองค์นี้ว่า มิลินทร์ (Milindra) ซึ่งเป็นนามเดียวกันกับที่พบในหนังสือหมวด ต้นเซอร์
(The Bstan-hygur) แห่งพระไตรปิฎกธิเบต คำจารึกหีบศพภาษาชินกอด (Shinkot) เป็น
ตัวอักษร ขาโรษฐิ (Kharosthi) เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ว่า เมนัทระ (Mebadra)
หลักฐานสำคัญที่พอจะประมวลเรื่องราวของกษัตริย์ชาติอินโดกรีกพระองค์นี้ ก็คือมิลินท-
ปัญหานั่นเอง เรื่องราวของนักประวัติศาสตร์กรีก เช่น สตราโบ (Strabo) พลูตาร์ก (Plutarch)

(1) Sacred Book of the East, by F. Max Muller, Vol.xxxv, p. xliv.
(2) เล่มเดียวกับหมายเลข (1) Vol. xxxvi, p.xxv.

และจัสติน (Justin) และเหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์เอง ซึ่งจารึกตัวอักษรว่า "Basileus
Soteros Menandros" ที่ค้นพบในที่ต่าง ๆ 22 แห่ง ในลุ่มน้ำกาบุล (Kabul) และสิทธ์
(Sindh) และในบริเวณภาคตะวันตกขอมณฑลอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) นักปราชญ์
หลายท่านมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องสมัยอันแน่นอนของพระเจ้าเมนันเดอร์ สมิธ (Smith)
มีความเห็นว่า พระเจ้าเมนันเดอร์รุ่งเรืองอยู่ในกลางศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. เอช.ซี. เรย์ เชาธุรี
(H.C. Rau Chaudhuri)กล่าวว่า พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ในศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ ใน
มิลินทปัญหากล่าวว่าพระเจ้ามิลินท์ทรงพระชนม์อยู่ หลังพุทธปรินิพพาน 500 ปี ฉะนั้น จึง
มีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าวว่า กษัตริย์กรีกพระองค์นี้ ทรงครองราชย์ในศตวรรษที่ 1 ก่อน
ค.ศ. หรือราว ๆ นั้น ซึ่งมีข้อเท็จจริงอื่น ๆ ยืนยันอีกเป็นอันมาก ในมิลินทปัญหากล่าวว่า
พระเจ้าเมนันเดอร์ เป็นพระราชแห่งพวกโยนก "โยนกานํ ราชา มิลินฺโท" คำบาลีว่า โยนก
หรือ โยน (สันสกฤตว่า ยวน) เป็นคำเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณว่า "เยานะ" ซึ่งแต่เดิม
หมายถึงพวกไอโอเนียนกรีก (lonia Greeks) แต่ต่อมาเลือนไป หมายถึงพวกกรีกทั้งหมด
อาณาจักรของพวกโยนะ (Yonas) และพวกกัมโพชะ (Kambojas) เป็นที่รู้จักแก่ชาวอินเดีย
ในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ดังมีหลักฐานอยู่ในอัสสลายสูตร มัชฌิมนิกาย ซึ่งแสดงว่า
ประชาชนของอาณาจักรเหล่านี้มีเพียง 2 วรรณ คือ พวกอารยะ (Arya) และพวกทาส (Dasa)
แทนที่จะมี 4 วรรณเหมือนในสังคมอินเดีย เป็นข้ดเท็จจริงที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า หลังสังคายนา
ครั้งที่ 3 ซึ่งทำที่กรุงปาฏลีบุตร ได้มีการส่งนักเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศโยนะอัน
ห่างไกล อันประกอบไปด้วยอาณาจักรของพระเจ้าอันติโอคอสที่ 2 แห่งซีเรีย (Amtiochos ll of
Syria) อาณาจักรของพระเจ้าอันตีโกนอสโกนาตอส แห่งเมซิโดเนีย (Amtigonos Gonatos of
Macedonia)เป็นต้น ข้อความนี้ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 2 และหลักที่ 13 ของพระเจ้าอโศก
ในศิลาจารึกนั้น มีคำกล่าวต่อไปอีกว่า พระภิกษุชาวกรีกชื่อ ธรรมรักขิต (Yona Dhammarakkhita)
ถูกส่งไปประกาศพระศาสนาในอปารนตกประเทศ ฉะนั้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่า คำสอนอันประเสริฐ
ของพระพุทธเจ้าได้เข้าถึงจิตใจของชาวกรีกก่อนสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์ แต่ส่วนมากเราได้
ทราบกันว่า กษัตริย์พระองค์นี้เป็นพระองค์แรกที่ทรงพระทัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า
โดยทรงตั้งข้อสงสัยขึ้นหลายประการ เมื่อพระองค์ทรงได้สดับคำวิสัชนาของพระนาคเสนจน
หมดความสงสัยแล้ว พระองค์ก็ทรงสนับสนุนในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในมิลินทปัญหา
กล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ประสูติที่ตำบลกลสิคาม ในเกาะอลสันทะ คือ เมืองอเล็กซานเดรีย
(Alexandria) หรือกันทหาร (Kamdahar) ในปัจจุบัน นครหลวงของพระองค์ คือ เมืองสาคละ
ซึ่งเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองสังคาล (Sangal) ของนักประวัติศาสตร์กรีกชื่อ แอร์เรียน (Arrian)
และเมืองสาคาล (Sagal) หรือ ยูธูเมเดีย (Euthumedeia) ของปโตเลมี (Ptolemy) เมืองนี้

อยู่ในบริเวณเมือง ไสอัลกอต (Sialkot) ในมณฑลปัญจาบ อาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์
ประกอบด้วยมณฑลเปษวาร์ (Peshawar) ลุ่มน้ำกาบุลตอนบน มณฑลปัญจาบ (Panjab)
มณฑลสินธ์ (Sindh) มณฑลกาเธียวาร (Kathiawar) และมณฑลอุตตรประเทศตะวันตก เมื่อ
พระเจ้ามิลินท์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์ก็ทรงสร้างวิหารชื่อ มิลินทวิหาร ถวาย
พระนาคเสน นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงขยายอาณาจักรแห่งพระพุทธศาสนาออกไปอีกเป็น
อันมาก ตามหนังสือมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์สวรรคต เมื่อทรงผนวชเป็นภิกษุ หลังจาก
ทรงสละราชสมบัติและราชอาณาจักรให้แก่ราชโอรส กล่าวกันว่าพระองค์ได้บรรลุพระอรหัต ซึ่ง
เป็นจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทด้วยอีกประการหนึ่ง ที่เหรียญของ
พระเจ้าเมนันเดอร์ มีตราพระธรรมจักร จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ผิดพลาดว่า พระองค์ทรงเป็น
พุทธศาสนิกที่เคร่งครัด อนึ่ง ศิลาจารึกภาษาชินกอต ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กษัตริย์กรีกพระองค์นี้
ได้ทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปในอาณาบริเวณ ตั้งแต่ภูเขาฮินดูกูษจนถึงแม่น้ำสินธุ
พลูตาร์กกล่าวต่อไปว่า ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีความยุติธรรม
อย่างยอดเยี่ยม และทรงเป็นที่รักใคร่ของปวงชนทุกชั้น แม้ว่าอำนาคที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้น
จะเสื่อมสูญไปจากอินเดียพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็ตาม แต่อนุสาวรีย์อันแสดง
ถึงความที่พระองค์ทรงมีความยุติธรรม มีพระปรีชาสามารถ และเป็นพุทธศาสนิกผู้เคร่งครัด
จะยืนยงคงอยู่คู่กับหนังสือมิลินทปัญหา และเหรียญตราธรรมจักรของพระองค์ชั่วกัลปาวสาน(1)
ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้ให้คำอธิบายในเรื่องนี้ไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์นั้น เข้าใจกันว่า
คือพระเจ้าเมนันเดอร์ ซึ่งพระนามปรากฏอยู่ในบัญชีกษัตริย์กรีกที่ปกครองบากเตรีย (คือ
อาฟฆานิสตาน) ในตำนานนั้นกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโยนกะ (กรีก) ครองราชย์
ในเมืองสาคละ (The Euthudtmia of the Greeks) และก็ปรากฏว่าไม่มีพระนามอื่นในบัญชี
ดังกล่าวที่ใกล้เคียงกับคำว่า มิลินท์ จึงมั่นใจได้ว่า นามทั้งสองดังกล่าวแล้ว เป็นบุคคลคนเดียวกัน
จรนาจารย์คงจะได้เปลี่ยนแปลงชื่อภาษากรีกเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับภาษาท้องถิ่นของ
อินเดียที่นำมาใช้ในการรจนา (มิลินทปัญหานี้) หรือไม่ก็เป็นเพราะความเปลี่ยนแปลงไปเอง
ตามธรรมชาติ ในทางการออกเสียง (Phonetic decay) หรืออาจจะเป็นไปเพราะสาเหตุทั้ง
สองประการดังกล่าวแล้วก็ได้ คำว่า "อินทร" หรือ "อินท" นั้น ไม่ใช่สำหรับใช้ลงท้ายคำทั่วไป
ที่ใช้เป็นชื่อของชาวอินเดีย เพราะความหมายว่ากษัตริย์ (meaning king) ก็ควรจะเหมาะสม
กับกษัตริย์เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระนามของกษัตริย์ต่างด้าวที่ลงท้ายคำว่า "แอนเดอ" (Ander)

(1) 2500 Years of Buddhism, General Editor: Prof. P. v. Bapat, Delhi, 1959; p. 195-199.

ก็น่าจะต้องใช้คำลงท้าย (ในภาษาอินเดีย) ว่า "อินท" อย่างไม่ต้องสงสัย แต่กฎในการเปลี่ยน
อักษร ม-น-ร ในภาษาท้องถิ่นของอินเดียนั้น อาจจะมีวิธีเปลี่ยนไม่เหมือนกันบ้าง ในบาง
โอกาส นาย วี เทรงค์เนอร์ (V.Trenckner) ได้ให้ตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้ ล แทน น หรือใช้ น
แทน ล ได้ในความหมายที่เหมือนกันในภาษาบาลีไว้ถึง 7 ตัวอย่าง
ก็ยังเหลือแต่ปัญหาในการเปลี่ยนสระตัวแรก คือ "เอ" (E) ในคำว่า เมนันเดอร์ เป็น "อิ"
(I) ในคำว่า มิลิน เท่านั้น ในบางตอนของศิลาจารึกของอินเดีย และในเหรียญที่เชื่อกันว่าเป็น
ของพระเจ้าเมนันเดอร์ นั้น เคยอ่านพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ ว่า "มินันทะ" (Minanda)
แม้ว่าปัจจุบันนี้เราจะไม่เชื่อการอ่านออกเสียดังกล่าวแล้ว เพราะมีหลักฐานใหม่ที่ดีกว่าก็ตาม
แต่ก็ไม่ต้องสงสัยว่า คำว่า มิลินท นั้น พูดได้คล่องปากกว่าคำว่า เมลินท และคำว่า "มิล" (MIL)
ดูจะเป็นคำเริ่มต้นที่เหมาะเจาะกับชื่อของ "มิลักขะ" ดีกว่า และเพราะคำว่า "อินทร" นั้น ใช้
เฉพาะกับพระนามของพระเจ้าแผ่นดิน ฉะนั้น คำว่า เมนันเดอร์ จึงกลายเป็น มิลินท ไป
นอกจากนี้รจนาจารย์ก็ยังได้กล่าวถึงชื่อที่เป็นภาษากรีกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น เทวมันติยะ
อนันตกายะ มังกุระ และสัพพทินนะ และยังมีชื่อกรีกในรูปภาษาบาลีที่พยายามทำให้มีความ
หมายเข้ากันได้กับภาษาท้องถิ่นของอินเดีย แต่ว่ารูปคำใหม่ของแต่ละชื่อดังกล่าวแล้วนั้นไม่เป็น
ภาษาอินเดียอย่างแท้จริงเหมือนกันคำว่า เดเมตริสโอส (Demetrios) นั้น พอเห็นก็รู้ว่าเป็นคำ
ภาษาอินเดียจริง แต่เมื่อมาตีความหมายกันแล้ว ก็มีความหมายแต่เพียงว่า "มนตรีของเทพดา"
เท่านั้น และอีก 2 คำคือ อนันตะ และกายะ ก็เป็นภาษาอินเดียเช่นกัน แต่เมื่อผสมกันเข้าเป็น
อนันตกาย ก็มีความหมายว่า "กายไม่มีที่สุด" กลายเป็นของขบขันไปไม่สนกับเป็นชื่อของ
นายทหารข้าราชสำนัก ชื่อนี้อาจจะคิดขึ้นเพื่อใช้แทนคำว่า แอนติโอโรส (Amtiochos) ก็ได้
สำหรับคำว่า มังกุระ และสัพพทินนะ นั้น ยากที่จะบอกได้ว่า หมายถึงใคร แต่ที่ว่า มิลินท เป็น
คำเดียวกับคำว่า เมนันเดอร์ นั้น เป็นกายถูกต้องแน่นอน เช่นเดียวกับคำว่า จันทคุตตะ เป็น
คำเดียวกับคำว่า แสนโดรโกตโตส ( Sandrokottos)
ข้อเขียนของพวกกรีกหรือโรมันเองนั้น ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของกษัตริย์กรีกที่ครอง
บากเตรียมน้อยมาก แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็ยังบอกให้เรารู้ได้มากที่สุดกว่าที่อื่น ๆ ว่า เมนันเดอร์
กับ มิลินท นั้นเป็นคน ๆ เดียวกันแน่นอน
สตราโบ (Strabo) กล่าวไว้ในหนังสือภูมิศาสตร์ของเขาว่า พระเจ้าเมนัสเดอร์นั้นเป็น
กษัตริย์ที่สำคัญองค์หนึ่ง ในจำนวน 2 องค์ ของบากเตรีย ที่ทำให้อำนาจของกรีกแผ่ไปไกลที่
สุดทางตะวันออก จนเลยเข้าไปถึงอินเดีย พระองค์ได้ข้ามไฮปานิส (Hypanis) (คือ Sutlej)
และรุกเข้าไปไกลถึง ไอสาโมส (Isamos) (บางทีอาจจะได้แก่ Jumna) แต่ในบทความเกี่ยวกับ

งานนิพนธ์ของ Justin กล่าวว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ กับ พระเจ้าอพอลโตตุส (Apollodotus)
นั้นเป็นกษัตริย์ชาวอินเดีย
พลูตาร์ก (Plutarch) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ได้ให้ความรู้เบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระเจ้า
เมนันเดอร์ว่า พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่เที่ยงธรรม ทรงปกครองให้ประชาชนได้รับความ
สุขสบายและว่า พระองค์สิ้นพระชนม์ในค่ายทหาร ในการสู้รบกับพวกอินเดียที่ลุ่มน้ำคงคา
และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ประเทศต่าง ๆ ก็แสดงความประสงค์ที่จะได้พระอัฐิของ
พระองค์ไปไว้ แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้ว่า จะแบ่งพระอัฐิให้ทั่วกัน และทุกประเทศจะต้องสร้าง
อนุสาวรีย์ (สถูป) เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ด้วย หลักฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับ
พระเจ้าเมนัสเดอร์ หรือมิลินท์ ที่อยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือ เหรียญที่ขุดได้ในประเทศอินเดีย (1)
เมื่อประมวลความเห็นต่าง ๆ ดังกล่าวลงแล้ว ศาสตรจารย์ ริส เดวิดส์ จึงสรุปเรื่อง
ราวของพระเจ้าเมนันเดอร์ หรือ มิลินท์ ว่า เป็นกษัตริย์กรีกองค์หนึ่งในบรรดากษัตริย์กรีก
หลายองค์ที่ปกครองจักรวรรดิกรีก ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสืบต่อ
กันมา แต่เป็นการแน่นอนว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงเป็นบุคคลสำคัญองค์หนึ่ง หรือบางทีอาจจะ
สำคัญที่สุดในบรรดากษัตริย์เหล่านั้นก็ได้ พระองค์ทรงนำกองทัพกรีกบุกเข้าไปในอินเดียได้ไกล
มากกว่าที่บรรพบุรุษของพระองค์บางองค์ได้เคยกระทำมา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเครื่อง
สนับสนุนทัศนะของผู้รจนาที่กล่าวไว้ในหน้า 5 (มิลินทปัญหาฉบับนี้) ว่า ทรงเป็นผู้ทรงความ
ยุติธรรม มีอำนาจ มีพระปรีชาสามารถ และทรงร่ำรวยมหาศาล พระเจ้ามิลินท์รงครองราชย์
ในระยะกาลที่เชื่อได้แน่นอนว่า หลังจากศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตศก หรือบางทีก็อาจจะใน
ราว 115 หรือ 110 ปีก่อนคริสตศก กิตติศัพท์ของพระองค์ได้แพร่ไปถึงตะวันตก ซึ่งไม่เคย
มีกษัตริย์บากเตรียพระองค์ใดเคยมีมาก่อน ทรงเป็นกษัตริย์กรีกที่ปกครองบากเตรียมเพียง
พระองค์เดียวเท่านั้น ที่ยังจดจำกันได้ในประเทศอินเดีย ผู้รจนากล่าวว่า พระองค์ประสูติที่เมือง
กลสิ ใน อลสันทะ (คือ อเล็กซานเดรีย) ซึ่งเป็นชื่อเกาะ ๆ หนึ่ง ที่สันนิษฐานได้ว่าอยู่ในแถบ
อินดัส (Indus) แต่กลสิคามนั้น ไม่พบว่าได้กล่าวถึงในที่อื่นอีก และในเหรียญจำนวนมากมาย
ของกษัตริย์บากเตรียนั้น ก็มีเพียงเหรียญเดียวเท่านั้น ที่ให้ชื่อว่าทางประวัติศาสตร์ไว้ชื่อหนึ่ง
เป็นชื่อของเมือง คือ การิสิ (Krisia) เหรียญดังกล่าวนี้สร้างขึ้นในราว 180 ปีก่อนคริสตศก

(1) Sacred Book of the East Vol.xxxv, p. xviii-xx.88